คอร์สก้าวแรกสำหรับนักขับเคลื่อนเพื่อสัตว์
หน้านี้สำหรับคอร์สภาษาไทย ทุก workshop ในคอร์สนี้จะจัดในภาษาไทย
2-17 กันยายน 2566 | กิจกรรมผ่านโปรแกรม Zoom
"13:00-15:30 น.*
*workshop 2 และ 4 จะมีช่วงทำความรู้จักเพื่อน ๆ ต่ออีก 30 นาที"
คอร์สก้าวแรกสำหรับนักขับเคลื่อนเพื่อสัตว์ คืออะไร?
คอร์สนี้ประกอบไปด้วย 6 เวิร์กชอปที่ออกแบบมาเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเคลื่อนไหวเพื่อความเป็นธรรมต่อสัตว์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยแต่ละเวิร์กชอปจะให้ทั้งข้อมูลความรู้ เสริมทักษะที่เป็นประโยชน์ และเปิดโอกาสให้ทุกคนได้ทำความรู้จักกับเพื่อนร่วมอุดมการณ์
Workshop 1: สื่อสารยังไงให้เวิร์ค - 2 ก.ย. 2566
ฝึกฝนการสื่อสารเรื่องสัตว์อย่างมีประสิทธิภาพผ่านการปูพื้นฐานความเข้าใจแนวคิดหลักในประเด็นเรื่องสัตว์และเรียนรู้เทคนิคทางจิตวิทยาในการสื่อสาร
Workshop 2: ทักษะภาคปฏิบัติในการเริ่มต้น - 3 ก.ย. 2566
ก้าวข้ามอุปสรรคในการขับเคลื่อนเพื่อสัตว์ด้วยการเสริมทักษะภาคปฏิบัติที่เป็นประโยชน์ในการเริ่มต้นให้กับตัวเอง เช่น การจัดสรรเวลา การระดมทุน และการดูแลสุขภาพจิต
Workshop 3: มูฟเม้นเพื่อความเป็นธรรมต่อสัตว์ - 9 ก.ย. 2566
ทำความเข้าใจภาพรวมและบทบาทต่าง ๆ ในขบวนการขับเคลื่อนเพื่อสัตว์ในประเทศไทย และตระหนักว่าเราอยากมีส่วนร่วมในบทบาทใดของมูฟเม้นนี้เพื่อร่วมมือกันผลักดันประเด็นเรื่องสัตว์
Workshop 4: ต่อต้านการกดขี่ทุกรูปแบบ - 10 ก.ย. 2566
ความอยุติธรรมใดก็ตามต่างเป็นภัยคุกคามของความยุติธรรมทั้งปวง” เรียนรู้ความทับซ้อนเชิงอัตลักษณ์และการกดขี่ในสังคมเพื่อสร้างมูฟเม้นเพื่อสัตว์ที่มีความหลากหลาก เท่าเทียม และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
Workshop 5: วางแผนและลงมือทำ - 16 ก.ย. 2566
เครื่องมือการวางแผนกิจกรรมหรือโครงการเพื่อสัตว์อย่างมีกลยุทธ์
Workshop 6: มาแชร์กัน! - 17 ก.ย. 2566
ผู้ที่สนใจสามารถนำเสนอไอเดียหรือแผนโครงการเพื่อสัตว์ของตัวเองโดยการนำเอาความรู้ที่ได้เรียนในแต่ละเวิร์กชอปมาปรับใช้ โปรเจกต์ที่ถูกนำเสนอจะได้รับฟีดแบคและการสนับสนุนในด้านต่าง ๆ เพื่อนำไปพัฒนาให้โครงการออกมาเป็นรูปเป็นร่างต่อไป
ผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมอย่างน้อย 5 ใน 6 เวิร์กชอปจะได้รับ e-certificate หรือเกียรติบัตรทางอีเมล
วิทยากรรับเชิญ
-
ผศ.ดร. เหมือนมาด มุกข์ประดิษฐ์ (she/her), workshop 1
อาจารย์ประจำสาขาวิชาปรัชญา จริยศาสตร์และปรัชญาตะวันตก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาจารย์มีความสนใจประเด็นเกี่ยวกับสัตว์เมื่อได้อ่านหนังสือ Animal Liberation ของ Peter Singer เลยมองความสัมพันธ์ของมนุษย์กับสัตว์ไม่เหมือนเดิมอีกเลย อาจารย์เป็นนักปรัชญาที่เชื่อว่าปรัชญาต้องสร้างความแตกต่างให้ชีวิตบุคคล (หมายถึงทั้งคนและสัตว์) ปรัชญามีหน้าที่ต้องรับใช้สังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องช่วยให้โลกนี้ยุติธรรมขึ้น ใจดีขึ้น ถูกต้องมากขึ้น อาจารย์จึงพยายามอยู่เสมอที่จะใช้ปรัชญาเป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนสังคม
-
ฟราน วีแกนนิซึมไทยแลนด์ (she/her), workshop 2
ฟราน อายุ 24 ปี ทำงานร้านอาหารวีแกนในเมืองลียง ประเทศฝรั่งเศส เป็นนักเคลื่อนไหวประเด็นสังคมและสิทธิสัตว์บนแพลตฟอร์มออนไลน์หลายช่องทางรวมถึงการมีส่วนร่วมกับกลุ่ม Veganism Thailand ที่สร้างกับเพื่อน ๆ เพื่อสื่อสารประเด็นสิทธิสัตว์และขยายคอมมูนิตี้วีแกนในประเทศไทยให้ใหญ่ขึ้น คุณฟรานยังขึ้นพูดบนเวทีงาน Bangkok Plant-Based Fair 2022 ในหัวข้อวีแกนเฟมมินิสต์ด้วย
-
วิชญะภัทร์ ภิรมย์ศานต์ (ปอ) (she/her), workshop 3
คุณวิชญะภัทร์เป็นนักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิสัตว์ชาวไทย เริ่มทำกิจกรรมเคลื่อนไหวเพื่อสัตว์ตั้งแต่ปี 2017 ปัจจุบันรับหน้าที่ผู้อำนวยการประจำประเทศไทยขององค์กรพิทักษ์สัตว์ซิเนอร์เจีย แอนิมอล โดยเริ่มงานกับองค์กรตั้งแต่ปี 2019
-
พี่เจี๊ยบ มัจฉา พรอินทร์ (she/her), workshop 4
พี่เจี๊ยบ นิยามตัวเองว่า ลาวเลสเบี้ยนเฟมินิสต์นักปกป้องสิทธิมนุษยชน และเป็นนักวิ่งเทรล ที่ทำงานพัฒนาสิทธิมนุษยชน ของเด็ก ผู้หญิงและ LGTBQIA+ โดยเฉพาะที่เป็นชนเผ่าพื้นเมือง มากว่า 18 ปี ปัจจุบันพี่เจี๊ยบมีตำแหน่งเป็นผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการ โครงการจัดตั้งมูลนิธิสร้างสรรค์อนาคตเยาวชน นอกจากจะมีพื้นที่ทำงานในแถบชายแดนไทย-พม่า จังหวัดเชียงใหม่ ตาก และแม่ฮ่องสอน แล้วพี่เจี๊ยบยังขับเคลื่อนสิทธิหลากหลายทางเพศและขบวนการเฟมินิสต์ในระดับโลก ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง Co President ขององค์กรระดับโลกชื่อ International Family Equality Day-IFED และเป็น Advisory Committee ของโปรเจค Power of Pride ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง ILGA Asia , PAN Africa and COC-Netherlands โดยการสนับสนุนของ Dutch Government
-
วรพจน์ อินเหลา (ฟอนด์) (he/him), workshop 5
"ฟอนด์
อาจารย์ประจำคณะดิจิทัลอาร์ต ม.รังสิต จบการศึกษาจากหลักสูตร Visual Culture, Curating and Contemporary Arts
เคยทำงานเคลื่อนไหวเพื่อสื่อสารประเด็นสิทธิสัตว์ในรูปแบบ street activism ในไทย
และมีโอกาสได้สื่อสารประเด็นปัญหาหมอกควันในภาคเหนือผ่านภาพยนตร์สารคดีทดลองอีกทั้งยังได้ทำงานกับเครื่องมือศิลปะร่วมสมัยในการชวนให้สาธารณชนตั้งคำถามกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสัตว์ในยุคสมัย Anthropocene"
-
สริตา โกวัฒนะ (เชฟซี) (she/her), workshop 6
"เชฟซีเป็นผู้ริเริ่มโครงการ Chef for Change ที่มีเป้าหมายในการส่งต่อประสบการณ์และความรู้ให้กับผู้คนผ่านอาหารแพลนท์เบสเพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลสิ่งแวดล้อมและสร้างการเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในประเทศไทย เชฟซีสนใจเกี่ยวกับอาหารมาตั้งแต่เด็กและได้มีโอกาสเรียนทำอาหารระยะสั้นหลายประเภทตั้งแต่นั้นมา หลังจบการศึกษาจาก MUIC สาขาการบริหารการท่องเที่ยวและบริการก็ได้รับใบประกาศนียบัตร Excellent Trainee ในแผนกครัวและ F&B ในระหว่างฝึกงาน ด้วยความตั้งใจที่ต้องการรู้ถึงแหล่งที่มาของอาหารอย่างลึกซึ้งจึงไปฝึกงานที่ฟาร์มในประเทศสวีเดนเป็นเวลาปีกว่า ทำให้ได้เห็นว่าในทุกวันมีอาหารปริมาณมากที่ไม่ถูกนำเอาไปใช้ ถูกกำจัดอย่างไม่ถูกวิธีซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และยังได้เรียนรู้ว่าการปศุสัตว์นอกจากจะเป็นการทรมาณสัตว์แล้ว ยังปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่ามลพิษจากการคมนาคม นับแต่นั้นมาเชฟซีจึงตั้งใจศึกษาเพิ่มเติมในด้านที่เกี่ยวข้อง ทั้งด้านการทำอาหารจากพืช โภชนาการ และความยั่งยืน
"
คอร์สนี้เหมาะกับใคร?
คอร์สนี้จัดขึ้นเพื่อใครก็ตามที่สนใจในการขับเคลื่อนหรือทำกิจกรรมเพื่อสัตว์ เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน ไปจนถึงผู้ที่กำลังริเริ่มโครงการและอยากเรียนรู้เพิ่มเติมเพื่อนำไปปรับใช้กับโปรเจกต์เพื่อสัตว์ของตัวเอง
แล้วคุณจะได้อะไรจากคอร์สนี้บ้าง?
ถ้าอ่านมาถึงตรงนี้แล้วแสดงว่าอย่างน้อยคุณก็อยากเริ่มต้นลงมือทำอะไรสักอย่างเพื่อสร้างโลกที่ดีกว่านี้ให้กับสัตว์ และเรารู้ว่ามันอาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายขนาดนั้น คุณเคยรู้สึกหงุดหงิดที่สังคมเปลี่ยนแปลงช้าเกินไปมั้ย? คุณเคยสงสัยมั้ยว่านอกจากจะเป็นวีแกนแล้ว เราสามารถทำอะไรเพื่อช่วยเหลือสัตว์ได้อีกบ้าง? คุณอยากเคลื่อนไหวหรือทำกิจกรรมทางสังคมที่สามารถช่วยเหลือสัตว์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นมั้ย? ใน คอร์สก้าวแรกสำหรับนักขับเคลื่อนเพื่อสัตว์ นี้ คุณจะได้ทำความเข้าใจมูฟเม้นเพื่อสัตว์ในมุมกว้างและสำรวจดูว่าคุณเองอยากมีส่วนร่วมในแง่มุมใดในการผลักดันให้เกิดความยุติธรรมต่อสัตว์ในสังคมไทย
ราคาเท่าไหร่?
สามารถจ่ายตามกำลังที่มี เงินบริจาคของคุณจะช่วยให้พวกเราทำงานเพื่อซัพพอตนักเคลื่อนไหวเพื่อสัตว์ในเอเชียได้ต่อไป
หากมีข้อสงสัย สามารถติดต่อมาได้ที่ animalallianceasia.th@gmail.com (เอม) หรือ IG: @vegan.aim